-1-

WORDS

       คำในภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆได้      ชนิด ด้วยกันคือ

          1.   Noun คำนาม (คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่)

          2.   Pronoun   คำสรรพนาม  (คำที่ใช้แทนคำนาม)

          3.   Adjective   คำคุณศัพท์  (คำขยายคำนาม

           4.   Adverb  คำกริยาวิเศษณ์   (คำขยายกริยา  ฯลฯ   ยกเว้นนาม  กับ  สรรพนาม)   

           5.  Verb    คำกริยา  ( อาการกระทำของประธาน)

          6.   Conjunction    คำสันธาน  (คำที่ใช้เชื่อมอนุประโยคตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป)

          7.   Preposition    คำบุพบท  (คำใช้เชื่อมแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ)

          8.   Interjection   คำอุทาน  (คำทีเปล่งออกมาลอยๆ  เพื่อแสดงความรู้สึกของอารมณ์)

          ในภาษาอังกฤษนั้นการสร้างประโยคจะใช้คำต่างๆเหล่านี้มาแต่งเป็นประโยคขึ้น  ซึ่งคำแต่ละชนิดนี้จะมีลักษณะเฉพาะของตนเอง   คือมีหน้าที่ต่างกันและมีการวางตัวต่างกันด้วย   ซึ่งต่อไปนี้จะได้อธิบายพื้นฐานเรื่องหลักการใช้คำต่างๆเหล่านี้และหลักการแต่งประโยคอย่างง่ายๆ

 

  NOUN

          Noun    คือคำที่ใช้เป็นชื่อของ คน สัตว์ สิ่งของและสถานที่  แบ่งออกได้  5  ชนิดคือ

          1.  Common Noun     สามานยนาม  ได้แก่นามที่เป็นชื่อไม่ชี้เฉพาะของ คน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่  เช่น   man,  dog,  pen,  school ….

          2.  Proper  Noun    วิสามานยนาม  ได้แก่นามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่  และจะต้องเขียนด้วยตัวใหญ่เสมอ  เช่น   Ladda,  Dang,  Diccky,  Toyota,  Thailand …

                3. Collective  Noun  สมุหนาม  ได้แก่นามที่เป็นชื่อของหมู่คณะ, กลุ่ม, ฝูง, เป็นต้น  ส่วนมากมัก จะเป็นคำผสมที่ครั่นด้วย of เสมอ  และสมุหนามนี้ต้องถือว่าเป็นนามพหูพจน์ตลอดไป  ดังนั้นกิริยาจึงต้องใช้ให้เป็นพหูพจน์ด้วย (อนึ่งบางคำอาจเป็นคำคำเดียวก็ได้ไม่จำเป็นต้องมี of  และถ้าสมุหนามนี้มาทำหน้าที่เป็นประธานแล้วหมายถึงหน่วยเดียวก็ใช้กิริยาเป็นเอกพจน์  แต่ถ้าหมายถึงแยกเป็นแต่ละบุคคลที่มีอยู่หลายคน ถือว่าสมุหนามนั้นเป็นพหูพจน์  ต้องใช้กิริยาให้เป็นพหูพจน์ด้วย)

           4.  Material  Noun  วัตถุนาม  ได้แก่นามที่เป็นชื่อของเนื้อวัตถุ  ซึ่งส่วนมากก็ได้แก่นามที่เป็นของเหลว, แร่, ธาตุ,โลหะ แต่นามบางชนิดเมื่อยังไม่แยกก็จัดเป็น  common Noun   แต่เมื่อแยกแล้วจะมาเป็น   Material Noun   เช่น   cow,  ox, วัวมาแบ่งเป็น  beef   เนื้อวัว….                                                                                

            5.  Abstract  Noun   อาการนาม  ได้แก่นามที่เป็นชื่อของลักษณะ, สภาวะและการกระทำ  นามจำพวกนี้ไม่มีตัวตน  เป็นเพียงกิริยาอาการเท่านั้น มีสำเนียงแปลว่า การ หรือ ความ  ขึ้นต้น เช่น happiness  ความสุข,  Slavery  ความเป็นทาส ,  eating  การกิน เป็นต้น                  

                                                                

หน้าที่ของนาม

               นามทั้ง   5   ชนิดที่กล่าวมานั้น เวลานำไปพูดหรือเขียน สามารถทำหน้าที่ได้  7  อย่างคือ

1.    เป็น Subject  ของกิริยาในประโยคได้.

2.    เป็น Object   ของกิริยาในประโยคได้.

3.    เป็น Object  ของ    Preposition    (บุรพบท) ได้.

4.    เป็น Complement คือส่วนสมบูรณ์ของกิริยาได้.

5.    เป็น  Appositive  คือเป็นนามซ้อนนามได้.

6.    เป็น Address  คือเป็นนามเรียกขานได้(และต้องใส่  , Comma ด้วย).

7.    เป็น Possessive คือเป็นนามแสดงความเป็นเจ้าของได้ (และต้องใส่ Apostrophe’s ด้วย)

 

ลักษณะพจน์ของนามโดยทั่วไป

          ในการสร้างประโยคนั้นจะต้องใช้กริยาให้สอดคล้องกับพจน์ของตัวประธาน  ถ้าประธานเป็นเอกพจน์กริยาก็ต้องเป็นเอกพจน์  ถ้าประธานเป็นพหูพจน์กริยาก็ต้องเป็นพหูพจน์    ซึ่งหลักในการดูว่านามนั้นเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์นั้นก็ให้ดูที่ท้ายศัพท์นั้นๆคือ

          1.    ถ้าท้ายศัพท์นั้นไม่เติม  S  ให้ถือว่าเป็นเอกพจน์  เช่น   a  book ,   a cat  …  etc.

          2.    ถ้าท้ายศัพท์นั้นเติม  S   ให้ถือว่าเป็นพหูพจน์  เช่น  Books,     cats ….   etc.

                *    ข้อยกเว้น   มีนามหลายตัว หรือหลายลักษณะที่ไม่อยู่ในหลักการทั้ง  ที่กล่าวมาแล้วนั้น  ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดเกินไปที่เราควรจะรู้ในขณะนี้  ดังนั้นจะไม่กล่าวถึงกรณีที่ยกเว้นเหล่านี้   ถ้าใครสนใจอยากรู้มากขึ้นก็พึงหาศึกษาเอาเองต่อไป.

                                                       

เพศของนาม

          นามในภาษาอังกฤษทั้งชนิด   เมื่อจำแนกออกเป็นเพศแล้วจะมีอยู่   4  เพศ  คือ

          1.   Masculine    Gender   เพศชาย    เช่น  boy,  man….etc.

                     2.  Feminine     Gender    เพศหญิง  เช่น   girl,  woman …etc.

          3.   Common    Gender   เพศรวม  เช่น Teacher,  Student…etc.

          4.   Nature     Gender    ไม่มีเพศ  เช่น   pen,  desk…etc.

 

หลักการเปลี่ยนเพศชายเป็นเพศหญิงมีหลักเกณฑ์  อย่างคือ

1.    โดยการเปลี่ยนคำทั้งคำจากเพศชายเป็นเพศหญิง เช่น  Boy   เป็น   Girl  เป็นต้น

2.    โดยการเติมอาคม   ess   ที่ท้ายคำเพศชาย  เช่น  Prince  เป็น   Princess  เป็นต้น

3.    โดยการเติมคำที่เป็นเพศหญิงข้างหน้านาม  จะกลายเป็นเพศหญิง  เช่น   Boy-friend                      

        เป็น   girl-friend    เป็นต้น.                                                                                                                                                                

4.    โดยการเติมคำที่เป็นเพศหญิงข้างหลังนามจะกลายเป็นเพศหญิง เช่น  Grand-father

       เป็น  Grand-mother  เป็นต้น.

                                  

จบเรื่องนาม

 

 Pronoun

  Pronoun   (คำสรรพนาม)    คือคำที่มีไว้สำหรับ(พูด,เขียน)แทนชื่อของคน,สัตว์,สิ่งของ,และสถานที่เพื่อป้องกันมิให้กล่าวชื่อนั้นซ้ำๆซากๆ ซึ่งเป็นการฟังไม่ไพเราะ

Pronoun   มีอยู่ 8 ชนิดด้วยกันคือ

       1.  Personal Pronoun บุรุษสรรพนาม

2.    Possessive  Pronoun  สามีสรรพนาม

3.    Definite   Pronoun  นิยมสรรพนาม

4.    Indefinite  Pronoun  อนิยมสรรพนาม

5.    Interrogative  Pronoun   ปฤจฉาสรรพนาม

6.    Relative  Pronoun  ประพันธ์สรรพนาม

7.    Reflexive  Pronoun  สรรพนามสะท้อนหรือเน้น

8.    Distributive Pronoun  วิภาคสรรพนาม

                1. Personal Pronoun บุรุษสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนชื่อของผู้พูด, ผู้ฟัง, และผู้ที่ถูกกล่าวถึง  ซึ่งมีอยู่พจน์  3  บุรุษ คือ

 

 

เอกพจน์

พหูพจน์

บุรุษที่     1

I

we

บุรุษที่     2

you

you

บุรุษที่     3

he,   she,    it

the

 

 

Personal   Pronoun   แบ่งได้  5  รูป คือ

รูปที่  1

รูปที่ 2

รูปที่ 3

รูปที่  4

รูปที่ 5

I

Me

My

mine

myself

We

us

Our

ours

ourselves

You

you

Your

yours

yourself

He

him

his

his

himself

she

her

Her

hers

herself

It

It

its

its

itself

they

them

there

theirs

themselves

 

              2.  Possessive Pronoun สามีสรรพนาม   คือสรรพนามที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ ซึ่งก็คือบุรุษสรรพนามรูปที่  4  นั่นเอง  เวลาใช้ไม่ต้องมีนามตามหลัง  มีหน้าที่ 3 อย่างคือ

2.1     เป็นประธานของกิริยาในประโยค  เช่น Your   book  is green,  mine is red.

2.2     เป็นส่วนสมบูรณ์ของกิริยา   เช่น  this  pencil is mine, that one is your.

2.3     ใช้เรียงตามหลังบุรพบท(คำเชื่อมคำ) เพื่อเน้นความเป็นเจ้าของให้ชัดเจนขึ้นได้เช่น  A   friend  of  yours  was  killed  last  night.    

              3Definite Pronoun นิยมสรรพนาม  คือสรรพนามที่ชี้เฉพาะและใช้แทนนามได้ ที่นิยมใช้แพร่หลายมีอยู่ 6 ตัวคือ  (รวมทั้ง which ด้วย)

                    this,   that,   one      3   ตัวนี้ใช้แทนนามที่เป็นเอกพจน์.

                   These,    those,  ones   3    ตัวนี้ใช้แทนนามที่เป็นพหูพจน์.

*นิยมสรรพนามนี้ ทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของกิริยาในประโยคได้ตามแต่ จะ ใช้งาน.

   4.   Indefinite pronoun อนิยมสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนนามได้ทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงว่าแทนคนนั้นคนนี้โดยตรง  (ตรงข้ามกับ Definite Pronoun)  ได้แก่คำว่า  some,  any,  all,  someone,  somebody,  anybody,  few,  everyone,  many,  nobody,   everybody,  other……etc.

*ข้อสังเกต ทั้งนิยมสรรพนามและอนิยมสรรพนาม  ถ้าใช้โดยมีคำนามอื่นตามหลังจะกลายเป็นคำคุณศัพท์ไป  แต่ถ้าใช้โดยไม่มีคำนามอื่นตามหลังจึงจะเป็นนิยมสรรพนามหรืออนิยมสรรพนาม.

            5. Interrogative pronoun ปฤจฉาสรรพนาม  คือสรรพนามที่ใช้เป็นคำถาม  และต้องไม่มีนามตามหลังด้วยจึงจะเรียกว่าเป็นปฤจฉาสรรพนาม  ได้แก่    Who  ,  whom,  whose  ,  what,  which     ซึ่งมีวิธีใช้ดังนี้.

            ·  Who   (ใคร)   ใช้ถามถึงบุคคลและเป็นประธานของกิริยาในประโยคได้ บางครั้งก็เป็นกรรมได้ เช่น.   Who   is  standing   there  ? ใครกำลังยืนอยู่ที่นั่น?.

·         Whom  (ใครใช้ถามถึงบุคคลและเป็นกรรมของกิริยาหรือบุรพบท  (บางครั้งใช้ Who แทน).เช่น Whom  do  you  love ?  คุณรักใคร ?.

·         Whose  (ของใครใช้ถามถึงเจ้าของ  และต้องเป็นบุคคลเท่านั้น เช่น.  Whose  is  the  car ?  รถคันนี้เป็นของใคร

                 ·    What (อะไร)   ใช้ถามถึงสิ่งของเป็นได้ทั้งประธานและกรรม  เช่น:-

                       -  ถ้าเป็นประธานต้องไม่ใช้กริยาอะไรมาช่วยทั้งสิ้น เช่น What  delayed  you ?  

                          อะไรทำให้คุณล่าช้า.

ถ้าเป็นกรรมต้องมีกริยาช่วยตัวอื่นมาร่วมด้วย และวางไว้หลัง What เช่น What  

    do you want ?

                 ·   Which  (สิ่งไหน อันไหนใช้ถามถึงสัตว์, สิ่งของ, เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น  ถ้าเป็นประธานไม่ต้องใช้กริยาอื่นมาช่วย  Which  is  the  best?  อันไหนดีที่สุด ?.(อนึ่งปฤจฉาสรรพนาม Whose ,which,  what นี้  ถ้าใช้โดยมีนามอื่นตามหลังก็เป็นคุณศัพท์ไป   ถ้าไม่มีนามอื่นตามหลังจึงจะเป็นปฤจฉาสรรพนาม)   

              6. Relative  Pronoun   ประพันธ์สรรพนาม  คือสรรพนามที่ใช้แทนที่อยู่ข้างหน้า และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เชื่อมประโยค ซึ่งอาจเป็นประธานของประโยคหลังได้ด้วย  ได้แก่ Who,  Whom,   Whose, Which,  Where,  what,  when, why,  that .

·         Who  (ผู้ซึ่งใช้แทนนามที่เป็นบุคคลและบุคคลนั้นจะต้องเป็นผู้กระทำด้วย เช่น    The  man  who  came  here  last  week  is  my  cousin.  ชายผู้ซึ่งมาที่นี่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเป็นลูกพี่ลูกน้องของฉัน.

·         Whom  (ผู้ซึ่งใช้แทนนามที่เป็นบุคคลและบุคคลนั้นต้องเป็นผู้ถูกกระทำด้วย เช่น The  boy  whom  you  saw  yesterday  is  my  brother. เด็กชายผู้ซึ่งคุณพบเมื่อวานนี้เป็นน้องชายของผม.

·         Whose (ผู้ซึ่ง…..ของเขา)   ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของนามที่ตามหลัง ดังนั้นเมื่อมี Whose ก็ต้องมีนามตามหลัง Whose เสมอ  เช่น  The  girl  whose  father  is  a  teacher  goes  to  school  every  day.   เด็กหญิงผู้ซึ่งพ่อของเขาเป็นครูนั้นไปโรงเรียนทุกวัน.(เป็นคำแสดง ความ เป็นเจ้าของ Father).

 ·    Which  (ที่,ซึ่งใช้แทนนามที่เป็นสัตว์ สิ่งของ เป็นได้ทั้งประธานและกรรม   The  animal            which  has  wing  is  a  bird.  สัตว์ที่มีปีกนั้นคือนก(เป็นประธานของอนุประโยค  has  wings) The  kitten  which  I  gave  to  my  aunt  is  very  naughty.  ลูกแมวซึ่งฉันให้แก่คุณป้าของฉันไปนั้นซุกซนมาก.(เป็นกรรมของกริยา  gave  ในอนุประโยค  I gave  to  my  aunt).

·         Where  (อันเป็นที่ใช้แทนนามที่เป็นสถานที่ เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น  The  night  club is  the  place  where  is  not  suitable  for children. ไนท์คลับเป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กๆ(เป็นประธานของอนุประโยค is  not  suitable  for  children )  The  hotel  is  the  place  where  I  like  best .  โรงแรมเป็นสถานที่ที่ผมชอบมากที่สุด.(เป็นกรรมของ like).

·         What  (อะไร,สิ่งที่ใช้แทนนามที่เป็นสิ่งของ นามที่ What ไปแทนทำหน้าที่เป็นประพันธ์สรรพนามนั้นไม่ต้องปรากฏให้เห็นอยู่ข่างหน้าเหมือนประพันธ์สรรพนามตัวอื่น ทั้งนี้เพราะถูกละไว้ในฐานะที่เข้าใจแล้ว เช่น I  know  what  is  in  the  box.  ฉันรู้ว่าอะไรอยู่ในกล่องใบนี้.

·         When  (เมื่อ,ที่ใช้แทนนามที่เกี่ยวกับเวลา ,วันเดือน,ปี  เช่น  Sunday  is  the  day  when  we  don’t  work.  วันอาทิตย์คือวันที่เราไม่ทำงาน.

·         Why  (ทำไม)   ใช้แทนนามที่เป็นเหตุผล  (ส่วนมากใช้แทน reason ) เช่น This  is  the  reason  why  I  go  to  Hong  Kong. นี้คือเหตุผลที่ว่า ทำไมผมจึงไปฮ่องกง

                       ·   That  (ที่,ซึ่ง)   ใช้แทนคน, สัตว์, สิ่งของ, และสถานที่ได้ แต่ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง  อันได้แก่  :-

      1.   เป็นนามที่มีคุณสมบัติสูงสุดมาขยายอยู่ข้างหลัง เช่น  He is the tallest  man  that  I   have  ever seen. เขาเป็นคนสูงที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา.   

     2.  เป็นนามที่มีเลขจำนวนนับที่มาขยายอยู่ข้างหน้า  เช่น China  is  the  first  country  that  I am  going  to  visit. จีนเป็นประเทศแรกที่ข้าพเจ้าจะไปเที่ยว.

     3.  เป็นนามที่มีคุณศัพท์บอกปริมาณมาขยายอยู่ข้างหน้า เช่น She has much money  that  she  give  me.  หล่อนมีเงินอยู่มากที่หล่อนจะให้ผม

             4.  เป็นสรรพนามผสมต่อไปนี้ตัวใดตัวหนึ่งปรากฏอยู่แล้ว คือ someone,  somebody,  something,  anyone,  anything,  anybody,  anyone,  everything,  no  one,  nothing,  etc.  เช่น    There  is  nothing  that  I can  do  for  you.   ไม่มีอะไรที่ผมจะช่วยคุณได้.

            7Reflexive   Pronoun   สรรพนามสะท้อนหรือเน้น  ได้แก่บุรุษสรรพนามที่นั่นเอง  อันได้แก่   myself,  yourself,  ……. Themselves.   เวลาใช้มีวิธีใช้  4  อย่างคือ  :-

            1.  เรียงไว้หลังประธาน  เมื่อต้องการเน้นว่าประธานเป็นผู้กระทำกิจนั้นด้วยตนเอง เช่น  I   myself  study  English.   ผมเรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเอง.

  2. เรียงไว้หลังกริยา เมื่อบอกว่าผลการกระทำนั้นเกิดจากผู้กระทำเองเช่น   I  will  punish  myself  if  I do  mistakes  ผมจะลงโทษตัวเอง  หากผมทำผิด

  3. เรียงไว้หลังกรรม  เมื่อต้องการเน้นกรรมนั้นเช่น   I   spoke   to  the  President   himselfผมได้พูดกับตัวท่านประธานาธิบดีเอง.

 4. เรียงไว้หลังบุรพบท by วางไว้สุดประโยคทุกครั้งไป เมื่อต้องการแสดงว่าประธานผู้นั้นกระทำกิจนั้นโดยลำพังคนเดียว เช่น   Pranee makes her dress by herself.

        8Distributive   Pronoun    วิภาคสรรพนาม   คือสรรพนามที่ใช้แทนคำนามในการแบ่งหรือจำแนกออกเป็นครึ่งหนึ่ง, สิ่งหนึ่ง, หรือตัวหนึ่ง  วิภาคสรรพนามที่นิยมใช้กันมากคือ

each   แต่ละ,  either   คนใดคนหนึ่ง,   neither  ไม่ใช่ทั้งสอง  หรือไม่ใช่ทั้งสอง  เช่น

  There  are  ten  boy each   has  one  hundred  bath.   มีเด็กอยู่ 10  คน  แต่ละคนมีเงินอยู่คนละ  100  บาท.

*   ข้อสังเกต   วิภาคสรรพนามถ้าใช้ลอยๆเป็นสรรพนาม  แต่ถ้าใช้โดยมีนามอื่นตามหลังจะเป็นคุณศัพท์                           

จบสรรพนาม

|หน้าต่อไป|






Free Web Hosting